Social bookmark

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ดื่มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี

การดื่มน้ำ ถ้าให้ดีจะต้องดื่มน้ำให้ถูกวิธี เพื่อที่ว่านอกจากทำให้ร่างกายนำน้ำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว
ยังทำให้อวัยวะต่างๆ เป็นแรงอีกด้วย วันนี้เรานำหลักปฎิบัติง่ายๆมาฝาก
ดื่มทุกครั้งที่ร่างกายร้องขอ แต่อย่าพรวดพลาดดื่มทีละมากๆ เพราะนั่นจะไปเพิ่มภาระ
ให้ระบบขับถ่ายอย่าง ไต ปอด ม้าม รวมทั้งระบบย่อยอาหารด้วย
ที่เรัยนกันมาว่าต้องดื่มน้ำวันละ 8 แก้วนั้น หมายรวมถึงปริมาณทั้งหมดที่รับในแต่ละวัน
ไม่ว่าจะเป็นน้ำจากผัก ผลไม้ ฯลฯ

ถ้าคุณรับประทานอาหารรสที่ไม่จัดจ้านจนเกินไป คุณก็แทบไม่กระหายน้ำเลย แต่หากรับประทานเนื้อสัตว์
ของหวานจัด หรืออาหารแห้งๆ ทอด ย่าง ปิ้ง ร่างกายก็จะเรียกหาน้ำมากขึ้นทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานหนัก
ผลก็คือมันจะทรุดโทรมลงก่อนวัยอันควร

หากคุณต้องการดื่มน้ำให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจริงๆ ควรดื่่มตอนที่เพิ่งลุกจากเตียงหมาดๆ
ระหว่างมื้ออาหาร 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร และหลังจากอิ๋มแล้วครึ่งชั่วโมง นี่และค่ะคือสุขภาพสุดๆ

เคล็ดลับการนอนกรน

เมื่อร่างกายหลับ การหายใจของคนเราจะมีความสม่ำเสมอ เพราะกล้ามเนื้อทุกส่วนจะผ่อนคลาย
รวมทั้งกล้ามเนื้อหายใจ เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบการหายใจนี้จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า
การนอนกรน ประเภทการนอนกรน

1.ประเภทไม่่เป็นอันตราย คือ การนอนกรนธรรมดาที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนจะไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
แต่ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้อยู่ใกล้ กลุ่มนี้มักมีการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย

2. ประเภทที่อันตราย คือ การนอนกรนที่มีเสียงไม่สม่าเสมอกัน ขณะที่หลับสนิท จะมีเสียงกรนดังสลับเบา
เป็นช่วงๆ และจะมีช่วงหยุดกรนไประยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่หยุดหายใจ

การป้องกันและการรักษาการนอนกรนของผู้ป่วย
1.ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. หลีกเลี่ยงการนอนหงาย ให้นอนในท่าตะแคงข้าง และให้ศีรษะสูงเล็กน้อย
3.หลีกเลี่ยงการดื่มแอกอฮอล์ หรือยานอนหลับและยากล่อมประสาทก่อนนอน
4. กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจรวมด้วย ให้รักษาโดย

  • ใช้เครื่องช่วยหายใจCPAP ครอบจมูกขณะหลับ เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น วิธีนี้ปลอดภัยและได้ผลดีในผู้ป่วยทุกราย
  • Radiofrequency จี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง
  • การผ่าตัดเอาส่วนที่ยืดยานออก

อันตรายจากการนอนกรน

1. ร่างกายอ่อนเพลีย คล้ายนอนไม่พอ ทำให้เกิดผลเสียต่อการเรียนการทำงาน และอาจเกิดอุบัติเหตุ

2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถในการจำลดลง หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย

3. มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด

(อาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะหัวใจทำงานผิดปกติขณะเกิดการหยดหายใจในช่วงหลับ หรือที่เรียกว่าไหลตาย)

4. ขาดสมรรถภาพทางเพศ